บทพิสูจน์ เรื่องพระเรียกร้องต่อฝ่ายบ้านเมืองนั่นแหละ คือ ตัวการทำให้ศาสนาเสื่อม




ปัจจุบัน มีข่าวคราวออกสื่อจำนวนมาก ที่ไม่ได้มีเฉพาะข่าวพระสะสมวัตถุ และบอกบุญสร้างศาสนวัตถุต่างๆ ที่ถูกหาว่า เป็นพระไม่ดี ซึ่งผมได้เปิดพระไตรปิฎกเป็นหลักฐานมายืนยันว่า ไม่ได้เป็นความจริงสำหรับทุกๆ กรณีไปแล้วในสองสามบทความที่ผ่านมานะครับ 

แต่ยังคงมีประเด็นอื่นๆ อีก ที่รอคอยการพิสูจน์ อย่างเช่น กรณีพระท่านออกมาเรียกร้องกับผู้มีอำนาจฝ่ายบ้านเมือง ไม่ว่าเรื่องใดกรณีใด ล้วนถูกกลุ่มคนอีกกลุ่มมองว่า ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของพระ แสดงว่าตกอยู่ในอำนาจของกิเลส คือ ความอยาก ไม่รู้จักปล่อยวาง พระเช่นนี้ ย่อมทำให้ศาสนาเสื่อม

ซึ่งถ้าเป็นการเรียกร้องเกี่ยวกับเรื่องการเมืองของพวกญาติโยมทางโลก ผมก็เห็นด้วยครับว่า เรื่องการเมืองไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับพระท่าน ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของพวกโยมๆ ทั้งหลายไปเถิด แต่ถ้าเป็นเรื่องร้องขอความเป็นธรรมทางด้านศาสนา โดยเฉพาะเป็นศาสนาส่วนรวมอีกด้วยล่ะ การทำเช่นนี้ เรียกว่า ไม่รู้จักปล่อยวาง และตกอยู่ในอำนาจของความอยากจริงหรือเปล่า

มาถึงตรงนี้ แน่นอนว่า ต้องนำหลักการที่ผู้มีเหตุมีผลทั้งหลายเขายอมรับ มาใช้ตัดสิน นั่นคือ หลักการทางวิทยาศาสตร์ ที่ว่า ก่อนจะเชื่อถือสิ่งใด ต้องพิสูจน์ให้แน่ชัดเสียก่อน ว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎก 84000 เรื่องนั้น ไม่ได้มีการพูดถึงเรื่องราวการให้พระภิกษุไปเรียกร้องโน่นนี่นั่นกับผู้ปกครองเช่น พระราชาในสมัยนั้น โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับศาสนาเลย ใช่หรือไม่

และนี่คือ เนื้อหาของพระไตรปิฎกที่ว่านั้นครับ ที่ย้อนไปสู่เหตุการณ์ตอนที่พระพุทธศาสนาหยั่งรากลึกลงในแผ่นดินหลายแว่นแคว้นแล้ว ตอนนั้นเองพวกเดียรถีย หรือ พวกนักบวชนอกพระพุทธศาสนา เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถึงพร้อมด้วยลาภยศ คือ มีสาธุชนมาทำนุบำรุงพระพุทธศาสนากันอย่างมากมาย ก็พากันคิดว่า "เหตุใดหนอ นักบวชที่ไม่ได้มีอะไรโดดเด่น เช่น พระสมณโคดม ถึงเป็นเลิศด้วยลาภยศเช่นนี้ ทั้งๆที่ศีล หรือสมาธิ หรือคุณวิเศษอย่างอื่นใด ของพระสมณโคดมนั้น ก็ไม่มีเลย" 

"หรือว่า เป็นเพราะ บริเวณวัดพระเชตวันที่พระสมณโคดมพำนักอยู่นี้ เป็นพื้นที่่อุดมสมบูรณ์มีประชาชนพำนักอาศัยอยู่ใกล้ๆ เป็นจำนวนมาก อย่ากระนั้นเลย ถ้าแม้พวกเราไปสร้างวัดของพวกเรา ใกล้ๆ วัดพระเชตวัน พวกเราก็จะพึงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยลาภยศ เหมือนพระสมณโคดมอย่างแน่นอน"

พวกเดียรถีย์เหล่านั้นจึงชักชวนอุปัฏฐากของตนได้ประมาณแสนคน ให้ช่วยกันรวบรวมเงินทองให้กับพวกตน แล้วพาอุปัฏฐากเหล่านั้นไปยังพระราชวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล
 
ครั้นพระราชาตรัสถามวัตถุประสงค์ พวกเดียรถีย์ก็ทูลว่า 
"พวกข้าพระองค์จะสร้างวัดของเดียรถีย์ใกล้กับเชตวัน ถ้าว่าพระสมณโคดม หรือพวกสาวกของพระสมณโคดมจักมาทูลพระองค์ เพื่อห้ามการสร้างวัดนี้แล้วไซร้ ขอพระองค์อย่าได้ไปฟังคำของพวกพระสมณโคดมนั้นเลย นี่เป็นเพียงของตอบแทนเล็กๆ น้อยๆ ที่พวกข้าพระองค์รวบรวมมาถวาย พระเจ้าข้า"

พระเจ้าปเสนทิโกศล รับสินบนนั้นไว้ ด้วยจิตยินดี แล้วตรัสว่า "พวกท่านจงไปสร้างวัดใกล้ๆ กับวัดพระเชตวัน ได้ตามที่พวกท่านปรารถนาเถิด กิจของพวกท่านจักสำเร็จบริบูรณ์ ไร้อุปสรรคสิ่งขวางกั้นใดๆ"ซึ่งต่อจากนั้นก็ไม่ต้องพูดถึงกันล่ะนะ พวกเดียรถีย์ เมื่อเคลียรด่านสำคัญเรียบร้อย จึงให้พวกอุปัฏฐากของตนขนอุปกรณ์การก่อสร้างต่างๆ มา แล้วทำการยกเสาเป็นต้น เปล่งเสียงอึกทึกคึกโครมลือลั่น ก่อสร้างวัดกันอย่างโกลาหล 
             
พระศาสดาเสด็จออกจากที่ประทับ ก็ตรัสถามพระอานนท์ว่า "อานนท์ คนที่อยู่ข้างนอกพวกนั้น เป็นพวกไหนหรือ เห็นจะเป็นพวกชาวประมง เปล่งเสียงอึกทึกลือลั่น แย่งปลากันอยู่" 
พระอานนท์ ตอบว่า
 "พวกเดียรถีย์มาสร้างวัดใกล้กับวัดพระเชตวันของพวกเรา พระเจ้าข้า" พระพุทธองค์ได้ฟังแล้ว แทนที่จะทรงบอกว่า "อืม พวกเดียร์ถีย์มาสร้างวัดใกล้ๆ เรานี้ แม้เป็นภัย แต่การที่พระในพุทธศาสนาของเราจะไปเรียกร้องอะไรกับพระราชา ย่อมเป็นสิ่งไม่สมควร มันแสดงถึงความกระสันต์ อยากได้ อยากมี อยากเป็น มันเป็นกิเลส ดังนั้น พวกเราเฉยไว้จะดีกว่า แสดงถึงการปล่อยวาง" เปล่าพระพุทธองค์ไม่ได้ทรงตอบเช่นนั้น 
แต่ตรัสตอบว่า "อานนท์ พวกนี้เป็นศัตรูต่อศาสนา จะทำให้ภิกษุทั้งหลาย อยู่กันไม่เป็นสุข เธอจงไปทูลพระราชาให้ทรงทราบ และให้ทรงสั่งการให้พวกนี้รื้อข้าวของกลับออกไป" 
             
พระอานนท์ได้ฟังเช่นนั้น ก็ไม่รอช้า ออกเดินทางพร้อมด้วยหมู่ภิกษุ ไปที่พระราชวังทันที เมื่อไปถึงประตูพระราชวัง ก็บอกพวกราชบุรุษว่า จะมาขอพบพระเจ้าปเสนธิโกศล พวกราชบุรุษทั้งหลาย ก็ไปกราบทูลพระราชาว่า "ข้าแต่สมมติเทพ พวกพระอานนท์ และคณะภิกษุสงฆ์มาเฝ้า พระเจ้าข้า" แต่พระราชาก็มิได้เสด็จออกไปต้อนรับ เพราะได้รับสินบนไว้แล้ว พระเถระทั้งหลายยืนรออยู่นานไม่เห็นพระราชาเสด็จออกมา จึงไปกราบทูลพระพุทธองค์

คราวนี้ พระศาสดาทรงส่งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะไปแทนพระพุทธองค์ แต่พระราชาก็กระทำอาการเช่นเดิม คือไม่ได้พระราชทาน แม้การเฝ้าแก่พระเถระทั้งสองนั้น พระเถระเหล่านั้นจึงมากราบทูลพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชาไม่ได้เสด็จออกมาพบเลย" 

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพยากรณ์ในขณะนั้นทีเดียวว่า 
"หากเป็นเช่นนี้ ด้วยกรรมในครั้งนี้ของพระราชา พระองค์จักไม่อาจดำรงอยู่ในราชสมบัติของตนได้ และก็จักต้องตายด้วยความหลงแท้ๆ อย่ากระนั้นเลย เราจักช่วยอนุเคราะห์พระองค์ ให้พ้นภัย และปกป้องภิกษุในพระพุทธศาสนา"
 วันที่สอง พระพุทธองค์ก็เสด็จไปยังพระราชวังของพระเจ้าปเสนธิโกศลด้วยพระองค์เอง โดยมีหมู่ภิกษุเป็นบริวาร เมื่อพระราชาทรงสดับว่าพระศาสดาเสด็จมาแล้ว จึงเสด็จออกไปกราบทูลให้เสด็จเข้าในพระราชวัง แล้วถวายภัตตาหารตามสมควร ส่วนพระพุทธองค์ก็ฉันภัตตาหาร โดยไม่ได้ว่ากล่าวใดๆ ฝ่ายพระราชาก็คิดว่า เราจะนั่งรออยู่เช่นนี้จนกว่าพระพุทธองค์จะฉันภัตตาหารเสร็จ ก็เป็นอันเสร็จพิธี

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงดำริว่า เราจะให้พระราชานั้นยินยอมกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง ด้วยตัวอย่างของเหตุในอดีตทีเดียว ครั้นแล้ว จึงทรงนำเหตุในอดีตมาเกริ่นให้พระราชาฟังว่า "มหาบพิตร ขึ้นชื่อว่าการให้พวกบรรพชิตรบกันและกันไม่สมควร พระราชาในยุคอดีตทรงให้พวกฤาษีทั้งสองฝ่ายรบกันและกัน จากนั้น ตัวของพระองค์ ก็ได้จมลงในมหาสมุทรไปพร้อมกับแว่นแคว้นของพระองค์ทีเดียว" ครั้นพระราชาตรัสถามว่า "เรื่องราวเป็นอย่างไรหรือ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า" พระพุทธองค์ก็ทรงเล่าให้ฟังว่า 

"ในอดีต พระราชาพระนามว่า ภุรุ ในแว่นแคว้นภุรุ ครองราชสมบัติอยู่ มีคณะฤาษี 2 คณะๆ ละ 500 เหาะไปจากเชิงเขาภุรุนครเพื่อจะฉันอาหารรสเค็มและเปรี้ยวบ้าง เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศจากการอยู่ในป่านานๆ และในที่ไม่ไกลพระนครมีต้นไม้อยู่สองต้น คณะฤาษีที่มาก่อนนั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นแรก ส่วนคณะฤาษีที่มาภายหลังนั่งที่โคนต้นไม้ต้นที่สอง พวกฤาษีพำนักอยู่ใต้ต้นไม้เช่นนั้น จนเป็นที่พอใจก็เหาะกลับไปยังป่าตามเดิม 

เมื่อเวลาผ่านไปนานพอสมควร ต้นไม้ต้นแรกแห้งตาย และพวกดาบสออกจากป่า มาพำนักในเมืองกันรอบใหม่ ดาบสกลุ่มแรกมาถึงเห็นต้นไม้ตนแห้งตาย ก็ไปพำนักยังต้นไม้อีกต้นหนึ่ง ฝ่ายดาบสพวกที่สองมาถึง เห็นดาบสกลุ่มแรกมายึดต้นไม้ของพวกตนก็ไม่พอใจ จึงขับไล่ให้ดาบสกลุ่มที่สองออกไปจากต้นไม้นั้น  


ดาบสกลุ่มที่สองจึงคิดว่า ช่างเถิด เราจักให้พวกฤาษีกลุ่มแรกนั้นเห็นฤทธิ์ของเราบ้าง ว่าแล้วนิรมิตล้อทองคำและเพลาด้วยเงินด้วยฤทธิ์ บันดาลให้หมุนไปยังราชวัง พร้อมกับทูลพระราชา ขอให้พระราชาช่วยไล่พวกฤษีที่มาแย่งต้นไม้ที่เป็นที่นั่งของพวกตนไปด้วยเถิด แล้วจะมอบล้อทองคำ กับเพลาเงินนี้เป็นเครื่องบรรณาการ

พระราชาก็ยินดี สั่งให้ราชบุรุษไปขับไล่กลุ่มฤษีที่นั่งอยู่ใต้ต้นไม้นั้นออกไป พวกฤษีใต้ต้นไม้เมื่อถูกขับไล่ ก็ไม่ยอมแพ้ เนรมิตหน้าต่างรถทองคำ
 แล้วไปถวายพระราชา พร้อมกับขอร้องให้ไล่ พวกฤษีฝ่ายตรงข้ามให้ออกไปเช่นเดียวกัน พระราชาก็มีจิตยินดี ให้ราชบุรุษไปกระทำตามนั้น 
แต่ทว่า คราวนี้ ดาบสทั้งสองกลุ่มไม่ยินยอมกันและกัน จึงได้ทะเลาะกันอย่างหนัก แต่ทะเลาะกันได้ไม่นาน เพราะด้วยศีลภาวนาที่พวกท่านบำเพ็ญกันมาดีแล้ว ทั้งหมดก็ได้สติคิดว่า เรากระทำกรรมอันไม่สมควรต่อกันเสียแล้ว จึงพากันเหาะกลับไปยังป่าทั้งหมดเลย

ในตอนนั้นเอง เทวดาที่อยู่ ณ ที่นั้น ก็โกรธมากว่า "พระราชานี้ ทำไมทำแบบนี้ รับสินบนจากมือของคณะดาบสทั้งสองคณะ เป็นเหตุให้ดาบสทั้งสองคณะต้องทะเลาะกันอย่างรุนแรง ว่าแล้ว จึงบันดาลให้น้ำในมหาสมุทรอันมหาศาล ไหลเข้าท่วมแว่นแคว้นของพระราชา ที่มีอาณาเขตแม้พันโยชน์ จนหมดสิ้น แว้นแคว้นนั้นก็ถึงกาลพินาศลง"
   
ครั้นพระพุทธองค์ ทรงแสดงอดีตชาติเช่นนี้แล้ว จึงตรัสย้ำกับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า "ถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย บุคคลควรเชื่อฟัง แล้วจะมีความสุขความเจริญ ไม่มีเสื่อม" ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อสดับคำของพระศาสดาแล้ว ก็สั่งให้ราชบุรุษให้ขับไล่พวกเดียร์ถีย์ออกไปจากเขตของวัดพระเชตวัน ดังนี้แล

จะเห็นได้ว่า หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเจริญของศาสนา อย่าว่าแต่พระสงฆ์ท่านเลย แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จไปร้องขอฝ่ายบ้านเมืองด้วยพระองค์เองเลยทีเดียว ฝ่ายบ้านเมืองก็ควรดูเป็นกรณีๆไป เช่น หากเห็นว่าเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับฝ่ายรัฐ เช่น พระภิกษุท่านประกาศลงโทษ ขับไล่กันเอง ถ้าอย่างนี้ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยว นั้นก็ถูกต้องแล้ว แต่หากเรื่องนั้นๆ เกี่ยวข้องกับความเจริญของพระศาสนา เช่น การแต่งตั้งพระผู้ที่จะมาปกครองดูแลคณะสงฆ์ จะบอกว่า ไม่เกี่ยวข้องนั้น หาควรไม่นะครับ เหตุในอดีตในพระไตรปิฎก ก็มีให้เห็นแล้ว เวลากรรมตามสนองนั้น น่าเกรงกลัวอย่างยิ่งเพียงใด สุดท้ายโปรดจำไว้ว่า
 

ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่มาจากไหน ก็ไม่มีใคร ยิ่งใหญ่เกินกรรม


http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1481
อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค โสตาปัตติสังยุตต์ ราชการามวรรคที่ ๒
๑. สหัสสสูตร

บทพิสูจน์ เรื่องพระเรียกร้องต่อฝ่ายบ้านเมืองนั่นแหละ คือ ตัวการทำให้ศาสนาเสื่อม บทพิสูจน์  เรื่องพระเรียกร้องต่อฝ่ายบ้านเมืองนั่นแหละ คือ ตัวการทำให้ศาสนาเสื่อม Reviewed by Kiat on 08:27 Rating: 5

8 ความคิดเห็น:

  1. อ่านแล้วขนลุกทีเดียว เป็นเรื่องราวที่ตอบโจทย์มาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ภิกษุผู้สามารถปกครองพี่น้องสหธรรมิกตามสมควร และตามฐานานุรูป ในระดับบนคือพระอานนท์ พระโมคคัลลา พระสารีบุตร จนถึงพระองค์เอง และพระพุทธศาสนาจำต้องได้รับความคุ้มครองจากผู้ปกครองบ้านเมือง

    ตอบลบ
  2. สาธุๆๆคะ กับข้อมูลความจริงของการทำงานของกฏแห่งกรรม กฏแห่งกรรมยุติธรรมเสมอคะ

    ตอบลบ
  3. เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ผู้ครองบ้านเมืองไม่่ควรปล่อยให้ พระท่านแตกแยกกัน เพราะความรู้ผิดเห็นผิด หรือปล่อยให้กิเลส โลภะโทสะ โมหะครอบงำจิตใจ จนมีส่วนทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย และทำให้ประเทศต้องพินาศลง เรื่องของสงฆ์ควรปล่อยให้สงฆ์ปกครองตามวินัยของสงฆ์ ซึ่งได้รับการบัญญัติจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงควรเคารพสงฆ์ เสมือนผู้รักษาธรรมวินัยจากพระพุทธเจ้า อย่าปล่อยให้เดียรถีย หรือผู้พ้นความเป็นพระแล้ว มาทำลายประเทศ

    ตอบลบ
  4. ใช่ค่ะ! ไม่ว่าจะใหญ่แค่ไหนก็ไม่มีใครใหญ่เกินกรรม!!
    ยังมีเวลากลับตัวกลับใจนะคะ..ก่อนที่จะไม่มีเวลา!!

    ตอบลบ
  5. ไม่เคยได้ยินอรรถกถาบทนี้มาก่อนเลย แต่ทุกสิ่งล้วนเคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต เพราะเราต่างเวียนว่ายตายเกิดมานับภพนับชาติไม่ถ้วน แม้สิ่งที่เราคิดว่าเกิดขึ้นใหม่ค้นพบใหม่ เรายังไม่เคยพบเลยนั่นล้วนวนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่าในอดีตทั้งสิ้น ขอบคุณและรู้สึกดีเป็นบุญที่ได้อ่านเรื่องนี้ ทั้งรู้สึกสลดสังเวทต่อผู้ที่กระทำกรรมหนักต่อพระพุทธศาสนา กฎแห่งกรรมยอมให้ผลสมแก่กรรมเสมอทั้งกรรมดีและชั่ว หากใครจะรู้ตัวรีบทำกรรมดีกลบเสียยังพอหนีผลกรรมชั่วได้ทันหรือให้เบาบางลงได้บ้าง ขอสัมมาทิฐิจงมีในใจของทุกผู้คนด้วยเถิด ขอให้เขาเหล่านั้นจงได้พบความสุขที่แท้จริงด้วยเถิด

    ตอบลบ
  6. พระท่านแสดงจุดยืนอย่างสงบ แต่ทำไม่หัวข้อข่าวกล่าวคำรุนแรง
    และชี้นำอย่างนั้นหล่ะ สร้างความเกลียดชัง ทำให้ศรัทธาสาธุชนลดลง
    นี่ใช่เหตุของการทำให้ศาสนาเสื่อมหรือไหม่? เท่าที่สังเกตุสื่อเสี้ยมเสื่อมอย่างนี้เห็นพยายามทำมาหลายปี
    จนทำให้พระเดือดร้อน จนต้องออกมาปกป้องพระศาสนา
    สิ่งดีๆภาพคนมาใส่บาตร โครการบวชพระทั่วไทย บวชอุบาสิกาล้านทั่วไทย ทุนการศึกษาเด็กดีล้านคน
    ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม พระ ครู ตำรวจ ทหารในภาคใต้ ทำทุกปี แต่กลับไม่เคยเห็นสื่อเหล่านี้ลงตีแผ่ข่าวเลย
    มีแต่ข้อกล่าวหา ที่ไร้มูลความจริง และสร้างความแตกแยกตีแผ่ได้วงกว้างมากกว่า และคิดว่าไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง

    ตอบลบ
  7. ดีมากๆเลยอดีตมีให้เราได้เรียนรู้ว่า ทำสิ่งไหนดี ทำสิ่งไหนชั่ว แต่คนก็มักจะทำชั่วซ้ำรอยในอดีตเสมอๆ

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.