ความยุติธรรม ที่ยังหวังพึ่งได้ เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล

สื่อมวลชน ทำข่าว
ในยุคปัจจุบัน ทันทีที่ข่าวคราวเรื่องราวที่ผิดกฏระเบียบ หรือเรื่องราวที่ผิดกฏหมายขึ้นตามหน้าหนังสือพิมพ์บ้าง ตามเว็บไซต์ของสื่อมวลชนแต่ละสำนักบ้าง กระแสสังคมส่วนใหญ่จะพากันเชื่อถือข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนเป็นหลัก โดยมีวลีเด็ดที่นิยมพูดกันคือ หากไม่ผิดจริง สื่อมวลชนนำจะข่าวไปลงได้อย่างไร 

อีกบรรดาเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบเรื่องราวที่ผิดระเบียบ หรือผิดกฏหมายเหล่านั้น ก็มักจะดำเนินการตรวจสอบโดยมีความเชื่อไปล่วงหน้าแล้วว่า ผู้ที่ตกเป็นข่าวการทำผิดนั้น มีความผิดค่อนข้างแน่นอน แนวทางการสอบสวนก็จะเป็นไปในทำนองนั้น ทั้งนี้เพราะเกรงจะเกิดข่าวครหาว่า ตนเองปกป้องหรือ เข้าข้างผู้ที่ตกเป็นข่าวว่ากระทำผิด

ซึ่งไม่เฉพาะในยุคปัจจุบันเท่านั้น แม้ในสมัยพุทธกาล การปฏิบัติตัวของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันนั้นเช่นเดียวกัน หากไม่ได้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ป่านนี้ ผู้ที่ตกเป็นข่าวของสังคม ก็จะกลายเป็นผู้ทำผิดจริงไปเสียทุกราย ทั้งที่บางรายไม่ได้เป็นผู้ทำผิดจริงอย่างที่ถูกกล่าวหา เช่นนั้น

หญิงสาว ผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในการบวช
เรื่องราวนี้เกิดขึ้น เมื่อมีหญิงสาวนางหนึ่งในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มีจริตอัธยาศัยน้อมไปในการบวช มาตั้งแต่ยังเยาว์วัย นางเฝ้าเพียรไปร้องขอบิดามารดา ให้อนุญาติให้นางบวชเป็นภิกษุณี แต่บิดามารดาเห็นว่า การครองเรือนจะเหมาะสมกับบุตรีของตนมากกว่า จึงไม่อนุญาติให้บวช และเมื่อนางเจริญวัยเป็นวัยรุ่น บิดามารดาก็จัดหาคู่ครองให้นางครองเรือนแทน 
นางครองเรือนอยู่กับคู่ครองไม่นาน สามีก็สังเกตเห็นอัธยาศัยของนางใฝ่การออกบวช เพราะเห็นนางไม่ชอบแต่งตัวตามอย่างหญิงสาวทั้งหลาย จึงอนุญาติให้นางบวชเป็นภิกษุณี โดยที่สามีก็ไม่ทราบว่า นางเริ่มตั้งครรภ์ อีกทั้งตัวนางเองก็ไม่ทราบเช่นกัน
      
ภิกษุณีออกบวชในสำนักของพระเทวทัต            
นางได้ออกบวชเป็นภิกษุณีในสำนักของพระเทวทัตได้เพียงไม่นาน ครรภ์ของภิกษุณีนางนั้น ก็เริ่มโตขึ้น เหล่าภิกษุณีทั้งหลาย ก็ทราบทันทีว่า ภิกษุณีนางนี้ได้ตั้งครรภ์ เรื่องก็แพร่กระจายออกไป ภิกษุณีทั้งหลาย จึงไปแจ้งให้พระเทวทัตซึ่งเป็นเจ้าสำนัก ให้ทราบ 
ครรภ์ของภิกษุณีโตขึ้น
พระเทวทัตพิจารณาแล้วเห็นว่า ภิกษุณีนางนี้ตั้งครรภ์ขึ้นมาในสำนักของตน ทำให้สำนักของตนเสื่อมเสียชื่อเสียง นี่ย่อมเป็นเพราะภิกษุณีนางนี้ ทำผิดพระวินัยเรื่องการเสพกามแน่นอน จึงได้ตั้งครรภ์ขึ้นมาเช่นนี้ แม้จะมีเสียงทักท้วงว่า ภิกษุณีอาจตั้งครรภ์มาตั้งแต่ก่อนบวช แต่ตนก็ไม่ประสงค์ที่จะตรวจสอบ คงพิจารณาเห็นว่า มันไม่ใช่หน้าที่อะไรของตนที่จะต้องไปตรวจสอบเรื่องนี้ และถ้าตั้งครรภ์มาก่อนที่จะมาบวช ทำไมไม่รู้ล่ะ เป็นไม่ได้หรอกที่จะตั้งครรภ์โดยไม่รู้มาก่อนเช่นนี้ อย่ากระนั้นเลย พระเทวทัตจึงตัดสินให้ภิกษุณีนางนี้ พ้นจากการเป็นนักบวชทันที
ภิกษุณีนางนี้ ย่อมรู้ตนเองดีว่า นางบริสุทธิ์ นางไม่เคยเสพกามแม้เพียงความคิดในขณะบวชเลย แต่ที่นางตั้งครรภ์ขึ้นมา เป็นการตั้งครรภ์ก่อนบวช โดยที่นางเองก็ไม่ทราบมาก่อน ดังนั้น ภิกษุณี และเพื่อนๆ ภิกษุณีที่เชื่อมั่นในความบิรสุทธิ์ของนาง จึงไปกราบทูลให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบ เพื่อขอความเป็นธรรม 

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พิจารณาแล้วเห็นว่า จะไปมุบมิบทำแบบมีลับลมคบในไม่ได้ จะต้องให้ความเป็นธรรมแก่ภิกษุณีผู้ถูกกล่าวหา ให้ได้รับการตัดสินอย่างเที่ยงธรรม ต่อหน้าผู้คนทั้งหลายในสังคมอีกด้วย จึงทรงมอบหมายให้ พระอุบาลีเถร
ะ พระภิกษุผู้เป็นเลิศด้านทรงจำพระวินัย เป็นผู้ตรวจสอบหาความจริงให้กระจ่างต่อสังคม และดำเนินการตัดสินเรื่องนี้ได้อย่างเต็มที่

พระอุบาลีเถระ จึงให้เชิญมหาชนทั้งหลายในกรุงสาวัตถี รวมถึงพระราชา มาร่วมเป็นสักขีพยาน และเชิญให้นางวิสาขา มาร่วมวินิจฉัยคดีในครั้งนี้ด้วย นางวิสาขาได้ร่วมตรวจครรภ์ของนางภิกษุณี ก็สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงวันเวลาที่เริ่มตั้งครรภ์ และเมื่อตรวจสอบเทียบกับวันที่นางออกบวชเป็นภิกษุณี จึงสรุปได้ว่า ภิกษุณีนางนี้ ได้ตั้งครรภ์ก่อนบวช หาได้ตั้งครรภ์ ภายหลังจากที่บวชแล้วไม่ ดังนั้น การออกบวชของนางภิกษุณี จึงถือได้ว่ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ไร้ข้อครหาใดๆ
พระกุมารกัสสัปะออกบวชตั้งแต่ยังเป็นสามเณร
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อทรงทราบผลการวินิจฉัย ก็ทรงเปล่งสาธุการ รับรองว่า พระอุบาลีเถระ วินิจฉัยคดีได้อย่างถูกต้องชอบธรรมดีแล้ว ซึ่งภิกษุณีนางนั้น ก็เฝ้ารักษาครรภ์อย่างดี จนคลอดบุตรออกมา จากนั้นพระราชาคือ พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้รับบุตรของนางไปเลี้ยงดู จนมีวัยที่สมควรแก่การบวช ก็ได้ให้ท่านออกบวชเป็นสามเณร มีนามที่พระพุทธเจ้าตั้งให้ว่า พระกุมารกัสสัปปะ นั่นเอง
อ้างอิง 1 :  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=298
อ้างอิง 2http://goo.gl/zpNrLs

เรื่องราวของภิกษุณีผู้ไม่ผิด แต่ถูกตัดสินว่าผิด ในเบื้องต้น ก็จบลงด้วยดีโดยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่พึ่งนะครับ ลองมาเทียบกับกรณีการถูกกล่าวหาว่าผิดในยุคปัจจุบัน ก็จะพบความคล้ายคลึงกันหลายประการทีเดียว เช่น หลวงพ่อธัมมชโย แห่งวัดพระธรรมกาย ถูกกล่าวหาว่า ฟอกเงิน และรับของโจร โดยที่หลวงพ่อท่านก็ไม่รู้มาก่อนว่า ผู้บริจาคเป็นโจรหรือไม่ 

แต่บรรดาสื่อและผู้กล่าวหาทั้งหลาย ก็อ้างว่า ก็ผู้บริจาคเป็นศิษย์วัด ทำบุญมาก เป็นประธานกฐินและเป็นไวยาวัจกรของทางวัด จะปฏิเสธว่าไม่ทราบว่า เขาเป็นโจรได้อย่างไร ซึ่งถ้าเป็นวัดที่มีผู้บริจาคไม่กี่ราย และไวยยาวัจกรณ์มีหน้าที่ในการบริหารการเงินของวัดนั้นๆ อย่างเต็มที่ ข้อสงสัยเรื่องรับของโจรและฟอกเงินย่อมสามารถคิดได้ 

แต่วัดพระธรรมกายเป็นวัดใหญ่ ดำเนินการกิจกรรมเพื่อสังคมมากมาย จึงมีผู้บริจาคเห็นความสำคัญ และบริจาคเงินให้พระธรรมกายเป็นจำนวนมาก เฉพาะประธานกฐินแต่ละปี ก็มีถึง 1 พันราย นายศุภชัย แม้ทำบุญมาก แต่ก็ไม่ใช่ศิษย์วัดที่ทำบุญมากที่สุด และตำแหน่งไวยาวัจกร ก็มีหน้าที่เพียง ไปออกงานบุญต่างๆ ของวัด เพราะกิจการน้อยใหญ่ในวัด รวมถึงกิจการด้านการเงิน ก็จะมีคณะกรรมการวัดคอยดูแลตรวจสอบอยู่แล้ว ซึ่งก็คล้ายๆ ข้อสงสัย เมื่อเห็นภิกษุณีตั้งครรภ์ว่า มีการเสพกามหลังจากมาบวชเป็นภิกษุณีแน่นอน โดยไม่พิจารณาให้ความเป็นธรรม แก่ผู้ถูกกล่าวหาเลย เป็นต้น
อีกทั้งเจ้าหน้าที่ยังมีหมายเรียกให้ท่านไปรับทราบข้อกล่าวหา เมื่อท่านแจ้งว่าป่วย ก็ไม่ได้ตรวจสอบอย่างเป็นธรรม ดูเพียงเอกสาร แล้วอ้างว่าผิด ไม่เชื่อว่าป่วย แล้วก็ออกหมายจับเลย ดังเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
หลวงพ่อธัมมชโย ป่วย
เรื่องราวจะดำเนินต่อไปอย่างไร ผมเองก็ไม่อาจทราบได้ จึงได้แต่เฝ้าตั้งจิตอธิษฐานขอคุณความดีที่หลวงพ่อ และหมู่คณะ รวมทั้งตัวผมเองได้กระทำมา จนดลบันดาลให้หลวงพ่อพ้นจากข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรมทั้งปวง ดังเช่นที่ภิกษุณีได้พระบรมศาสดาเป็นที่พึ่ง เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล 
ความยุติธรรม ที่ยังหวังพึ่งได้ เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล ความยุติธรรม ที่ยังหวังพึ่งได้ เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล Reviewed by Kiat on 04:22 Rating: 5

3 ความคิดเห็น:

  1. อนุโมทนา สาธุครับ

    ตอบลบ
  2. สาธุค่ะ เราเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของหลวงพ่อธัมมชโย

    ตอบลบ
  3. ขอให้ภัย พาลทั้งหลายทึ่มุ่งทำลาย#พระพุทธศาสนา
    และ#พระเดชพระคุณหลวงพ่อ
    ตลอด#คณะสงฆ์ทั่ว#สังฆมลฑล #ให้มลาบหายสิ้น
    ไปโดยเร็วพลันเทอญ

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.