เขาว่ากันว่า ธรรมกาย บิดเบือนพระไตรปิฎกเรื่อง นิพพาน จริงหรือ
เรื่องราวเกี่ยวคำสอนของวัดพระธรรมกายที่ผมเขียนบทความอยู่
ตอนนี้ก็ดำเนินมาถึงเป้าหมายอุดมการณ์สูงสุดในพระพุทธศาสนา
แล้วล่ะครับ นั่นคือ เรื่องนิพพาน ที่บรรดาสื่อส่วนหนึ่งเห็นว่า
วัดพระธรรมกายสอนผิดเพี้ยน โดยมีความเห็นว่า นิพพานเป็นอัตตา เป็นตัวตน ตัวเราของเรา
และมีอายตนนิพพาน ที่เป็นเหมือนดินแดนในภพสาม ในขณะที่ พระไตรปิฎกไม่ได้บอกว่า
นิพพานเป็นอัตตา และไม่มีคำว่า อายตนนิพพานในพระไตรปิฎก ผมเห็นว่า
การที่จะทราบเรื่องนี้อย่างแน่ชัดนั้น เราจะต้องไปศึกษาคำสอนของวัดพระธรรมกาย
และศึกษาจากพระไตรปิฎกโดยตรงครับ
โดยหลักการของพระพุทธศาสนา ที่มักนิยมพูดถึงกันในหมู่นักวิชาการศาสนา
ด้วยการอาศัยตีความจากพระไตรปิฎก โดยที่ก็ยังไม่ได้มีใครบรรลุนิพพานแต่อย่างใด
ต่างพากันให้ความเห็นดังนี้ครับว่า ทุกๆ ชีวิตในภพสาม ซึ่งได้แก่ มนุษย์เทวดา พรหม และอรูปพรหมนั้น
ล้วนตกอยู่ในกฏของไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน
ซึ่งตรงนี้ แม้ยังไม่ได้บรรลุนิพพานก็เห็นเหมือนกัน
เพราะพระไตรปิฎกเขียนไว้เช่นนี้ชัดเจน และความจริงในชีวิตทุกคนก็เป็นกันเช่นนี้
คือ กายใจเรา ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงที่เราจะบังคับบัญชาได้
เช่น ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตาย บังคับไม่ได้เลย
ทุกคนต้องแก่เจ็บตายกันทั้งสิ้น
สรรพสิ่งในภพสาม หรือโลกนี้ ล้วนตกอยู่ในกฏไตรลักษณ์ |
ส่วนนิพพานนั้น
ความเห็นจะแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเห็นว่า เที่ยง
เป็นสุข แต่ก็ไม่ใช่อัตตา หรือตัวตน เช่นกัน
โดยตีความจากถ้อยคำในพระไตรปิฎก ที่มีอยู่ในบทสวดมนต์ทำวัตรเย็นด้วยว่า “สัพเพธัมมา
อนัตตา” หรือ “ธรรมทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน”
ซึ่งคำว่า ธรรมทั้งปวงนี้ กลุ่มแรกเห็นว่า หมายรวมถึง นิพพาน ซึ่งเป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่งด้วย
ซึ่งก็ถือว่า มีเหตุผล
ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่ง
เห็นว่านิพพานนั้นเที่ยง เป็นสุข และเป็นอัตตา
โดยตีความว่า ธรรมทั้งปวงที่เป็นอนัตตานี้ ไม่รวมถึงนิพพาน ที่พ้นไปจากภพสามแล้ว
จึงไม่นับรวมเป็น ธรรมทั้งปวงในภพสาม แล้วเนื้อความในพระไตรปิฎก
กับคำสอนของวัดพระธรรมกายล่ะ ว่าอย่างไร
ซึ่งหลังจากที่ผมได้ดูพระไตรปิฎกแล้ว
พบว่า นิพพานนั้นเป็นสภาวะที่เที่ยงแท้ ไม่แปรเปลี่ยนกลับกลาย และเป็นบรมสุข
แต่ไม่ได้บอกชัดๆว่า นิพพานเป็นอัตตา หรือเป็นอนัตตา ครับ ตัวอย่าง ในปัญญาวรรค
วิปัสสนากถา บอกว่า
ผู้ใดเห็นว่า สังขารเที่ยง เป็นสุข เห็นธรรมทั้งปวงเป็นอัตตา ย่อมไม่อาจจะบรรลุธรรม แต่
ผู้ใดเห็นว่า สังขารเที่ยง เป็นสุข เห็นธรรมทั้งปวงเป็นอัตตา ย่อมไม่อาจจะบรรลุธรรม แต่
ผู้ใดเห็นว่า สังขารไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ย่อมสามารถจะบรรลุธรรมได้
ผู้ใดเห็นว่า นิพพาน
เป็นทุกข์ ย่อมไม่อาจจะบรรลุธรรม แต่ถ้าเห็นว่า
นิพพานเป็นสุขย่อมสามารถจะบรรลุธรรมได้
ผู้ใดเห็นว่า กายใจนี้
ไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ เมื่อพิจารณาปล่อยวางกายใจนี้ ย่อมเห็นว่านิพพาน
เที่ยงและเป็นสุข ส่วน ผู้ใดเห็นว่า กายใจนี้ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน เมื่อพิจารณาปล่อยวางกายใจนี้
ย่อมเห็นว่านิพพาน เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ข้อสังเกตจากวิปัสสนากถา
คือ กายใจมนุษย์เรานี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ส่วนนิพพานนั้น
เที่ยง เป็นสุข และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระไตรปิฎกก็ไม่ได้บอกว่า
นิพพานเป็นอนัตตา หรือเป็นอัตตาเป็นตัวเราของเราแต่อย่างใด บอกเพียงว่า
เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ดังนั้นในส่วนตัวผมเอง
และศิษย์วัดพระธรรมกายทั้งหลายนั้น ก็ยังไม่ได้บรรลุนิพพาน ดังนั้น
ย่อมจะไม่ได้มีความเห็นเป็นข้อสรุปแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะตระหนักดีว่า
ความคิดเห็นย่อมไม่สำคัญเท่ากับความเห็นแจ้งรู้แจ้ง หากยังไม่บรรลุนิพพาน ก็จะไม่อาจใช้ความเห็นนั้น
มาเป็นข้อสรุปได้ครับ
พระไตรปิฎก ฉบับผู้เริ่มศึกษา |
ซึ่งถ้าความเห็นส่วนตัวผม
เบื้องต้นย่อมเลือกเชื่อตำราไว้ก่อนว่า นิพพานนั้นไม่ใช่อัตตา
เพราะหนึ่ง ตำราไม่ได้บอกไว้ชัดๆ และสอง พิจารณาเห็นว่า ถ้านิพพาน เป็นสภาวะหรือเป็นดินแดนอะไรก็แล้วแต่
สภาวะนั้นดินแดนนั้น มันก็ไม่ใช่ตัวเราของเราอยู่แล้ว เหมือนเราเดินไปในสวน
เราจะไปบอกว่า สวนเป็นตัวเราของเราได้อย่างไร มันย่อมไม่ใช่อยู่แล้วครับ
แม้สวนนั้น สมมุตินะครับ ว่าเที่ยงแท้ เป็นสุข แต่สวนนั้น ก็ไม่ใช่ตัวเราของเราอยู่ดี
ผมคิดแบบนี้ครับ ส่วนศิษย์วัดพระธรรมกายคนอื่นๆ
ที่ไม่ได้เห็นเหมือนผมก็มีเช่นกันครับ
หลวงพ่อธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย |
แต่ความเห็นของผมและศิษย์วัดทั้งหลายก็เป็นเพียงแค่ความเห็นของแต่ละคน แต่ที่สำคัญที่สุด คือ คำสอนของอาจารย์ คือ หลวงพ่อธัมมชโย ต่างหากว่า ท่านสอนอย่างไรนะครับ ซึ่งตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมานั้น ผมไม่เคยได้ยินหลวงพ่อธัมมชโย ท่านบอกว่า
นิพพาน เป็นอัตตาเลย ไม่เคยได้ยินจริงๆ และครั้งหนึ่งสมัยปี 2542
ผมเคยอ่านที่หลวงพ่อท่านเคยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ท่านไม่เคยบอกว่า นิพพานเป็นอัตตาเลย
ท่านมีแต่บอกว่า ธรรมกายเป็นอัตตา ครับ ยกตัวอย่าง
คำสอนเรื่องธรรมกาย คือ หลักของชีวิต ที่หลวงพ่อธัมมชโยได้สอนไว้นะครับ
ธรรมกาย คือ หลักของชีวิต : http://goo.gl/zOsBgB
คราวนี้มาเทียบเคียงคำสอนหลวงพ่อ กับพระไตรปิฎกบ้าง พระไตรปิฎกบอกถึงธรรมกายว่าอย่างไร และบอกหรือไม่ว่า ธรรมกายเป็นอัตตา ผมก็เลยไปพลิกหาดู แล้วก็ได้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับเรื่องธรรมกายมาครับ โดยเนื้อหาแรกอยู่ในพระสูตรชื่อว่า สรภังเถรคาถา กล่าวโดยสรุปว่า พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ล้วนปราศจากกิเลส เพราะทรงเกิดใหม่ด้วยธรรมกาย ทรงมีธรรมเป็นสภาวะ เพราะทรงเป็นธรรมกาย หรือบรรลุธรรม หยั่งลงสู่นิพพาน นั่นเอง
สรภังเถรคาถา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=365
คราวนี้มาเทียบเคียงคำสอนหลวงพ่อ กับพระไตรปิฎกบ้าง พระไตรปิฎกบอกถึงธรรมกายว่าอย่างไร และบอกหรือไม่ว่า ธรรมกายเป็นอัตตา ผมก็เลยไปพลิกหาดู แล้วก็ได้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับเรื่องธรรมกายมาครับ โดยเนื้อหาแรกอยู่ในพระสูตรชื่อว่า สรภังเถรคาถา กล่าวโดยสรุปว่า พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ล้วนปราศจากกิเลส เพราะทรงเกิดใหม่ด้วยธรรมกาย ทรงมีธรรมเป็นสภาวะ เพราะทรงเป็นธรรมกาย หรือบรรลุธรรม หยั่งลงสู่นิพพาน นั่นเอง
สรภังเถรคาถา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=365
ส่วนอีกบทคือ ปกิณณกกถา ในสโมธานกถา บอกว่า บารมีขัดเกลาสัตว์โลกให้หมดกิเลส
บารมีย่อมทำให้ถึงนิพพานอันประเสริฐสุดได้ บารมีย่อมทำลายกิเลสซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์
จาก ธรรมกาย อันเป็น อัตตา (ตัวตนที่แท้) ผู้บำเพ็ญบารมี
จึงชื่อว่า ปรมะ หรือยอดเยี่ยม บารมีย่อมผูกประกอบสัตว์โลก (ที่เป็นธรรมกาย) ไว้ในพระนิพพาน
ปกิณณกกถา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.3&i=36&p=2
ปกิณณกกถา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.3&i=36&p=2
นิพพาน เป็นสุข อย่างยิ่ง |
ถึงตรงนี้ ถือว่า พระไตรปิฎกกล่าวไว้
ชัดเจนว่า สัตว์โลกที่บำเพ็ญบารมี จนบรรลุธรรม เป็นธรรมกาย อันเป็นอัตตา
ย่อมหยั่งถึงนิพพาน แต่ผมก็เข้าใจดีว่า บางท่าน แม้ได้รู้ความจริงแล้ว
ก็อาจทำใจยอมรับไม่ได้ เพราะเนื้อความในพระไตรปิฎก ไม่เหมือนกับความรู้แรกที่ตนเคยรู้
บางท่านอาจถึงขนาดบอกว่า พระไตรปิฎกพิมพ์ผิดบ้าง หรือ แปลผิดบ้าง หรือ
เป็นตำราชั้นหลังๆ ที่มาขยายความพระไตรปิฎกบ้าง อย่างนี้ก็มี แต่ผมเห็นว่า
หากคิดเช่นนี้ ควรพิสูจน์ด้วยตัวเองให้แน่ชัดด้วยการลงมือปฏิบัติธรรม แต่ไม่ควรไปบอกกล่าวกับคนอื่นว่า
คำสอนของวัดนั้นวัดนี้ บิดเบือนพระไตรปิฎก
เพราะมันจะกลายเป็นว่า ไปกล่าวหาว่า
“คำสอนที่มีในพระไตรปิฎกนั้น
บิดเบือนพระไตรปิฎก” นั่นจะเป็นไปได้อย่างไร มันจะกลายเป็นตรรกะที่เหมือนคว่ำของที่หงาย
ปิดของที่เปิด บอกให้คนหลงทาง ดับไฟในที่มืด ไปสอนใคร ก็ย่อมมีแต่ความไม่เข้าใจในพระพุทธศาสนา
นั่นเอง
นี่ยังเหลือเรื่อง อาตยนะนิพพาน ที่ยังไม่ได้เขียน แต่เห็นว่า เรื่องนิพพานอัตตาหรืออนัตตา มีเนื้อหายาวพอสมควรแล้ว ดังนั้น จะขอยกเรื่องนี้ไว้เขียนต่อในครั้งหน้าเป็นตอนสุดท้ายนะครับ
นี่ยังเหลือเรื่อง อาตยนะนิพพาน ที่ยังไม่ได้เขียน แต่เห็นว่า เรื่องนิพพานอัตตาหรืออนัตตา มีเนื้อหายาวพอสมควรแล้ว ดังนั้น จะขอยกเรื่องนี้ไว้เขียนต่อในครั้งหน้าเป็นตอนสุดท้ายนะครับ
เขาว่ากันว่า ธรรมกาย บิดเบือนพระไตรปิฎกเรื่อง นิพพาน จริงหรือ
Reviewed by Kiat
on
22:02
Rating:
อ่านเข้าใจง่ายดีค่ะขอบคุณและอนุโมทนาด้วยค่ะว
ตอบลบอยากรํ้ก็เข้ามานั่งสมาธิกันครับมัวแต่พูดสักล้านชาติก็ได้แค่พูดครับมาลองปฎิบัตินามแนวที่ถนัดได้เลยครับ
ตอบลบใช่เลย สาธุด้วยครับ ปฏิบัติธรรมไปรู้ไปเห็นด้วยตนเอง ดีที่สุดจริงๆ
ลบอนุโมทนาสาธุ ครับ
ตอบลบพี่ค่ะเหมียวขอแชร์นะคะ
ตอบลบได้เลยครับ สาธุกับการทำความจริงให้กระจ่างด้วยครับ
ลบพิพาน คือความว่างไม่มีตัวตนเป็นศูนย์ ผู้ที่เข้าถึงนิพาน จะว่างจากอุปทานขันข์5ว่างจากตัวตน ในความรู้สึกคือใจเท่านั้น เพราะใจเป็นอิสระจากอวิชชาไม่ถูกครอบงำด้วยอวิชชา นิพานที่ว่างก็เพราะไม่มีการยึดมั่น ถือมั่นต่อสภาวใดทั้งสิ้น จึงไม่มีการไปการมาเหมือนอยู่กลางอากาศอย่างนั้นแหละ จึงอธิบายลักษณะยาก การเข้าถึงสภาวนิพานจึงไม่ใช่การดับกิเลส แต่เป็นการเห็นต้นต่อแห่งทุกข์ จำนนต่อหลักฐาน ใจจึงยอมรับความจริง เลยหมดความยึดมั่น ถือมั่นไปเอง โดยไม่ยึดอะไรเลย ปล่อยทิ้งทั้งหมดพร้อมกัน กิเลสอยู่ส่วนกิเลส นิพานอยู่ส่วนนิพาน คลุมกันอยู่ กิเลสเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของเขาอย่างนั้น แต่ไม่มีผู้เข้าไปเสวย เลยไม่มีผู้ทุกข์ ผู้ที่เข้าถึงนิพานแล้ว ชีวิตจึงเรียบง่าย จึงมีแต่รู้ที่ไม่มีเจ้าของ และความว่างจากทุกข์ทั้งปวง (อธิบายโดยผู้เข้าถึงที่สุดแห่งธรรมไม่มีเจตนาอวดอ้างแต่มันคือความจริงแท้..
ตอบลบความว่างไม่มีตัวตนเป็นศูนย์ เขาเรียกว่า อากาสธาตุครับ แปลว่า ที่ว่างที่ไม่มีธาตุใดๆ หลงเหลืออยู่เลย ส่วนคำศัพท์ที่ว่า นิพพานัง ปรมัง สุญญัง หรือ นิพพานเป็นสูญอย่างยิ่ง หมายถึง สูญจากกิเลส
ลบผู้ที่เข้าถึงนิพพาน จะว่างจากอุปทานขันธ์ 5 (เป็นหนึ่งในกิเลส) ถือว่า ใช่ครับ เพราะนิพพานว่างจากกิเลส ต่อมาบอกว่า ในความรู้สึกคือ ใจเท่านั้น และต้องเป็นใจที่เป็นอิสระจากอวิชชา (เป็นหนึ่งในกิเลส) ตรงนี้ก็ใช่ OK ผ่านครับ
การเข้าถึงสภาวนิพพานไม่ใช่การดับกิเลส ตรงนี้ ขึ้นกับศัพท์ที่เกียกครับ ถ้าคำว่า ขจัดกิเลสเป็นสมุทเฉทประหาร คือ สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ผมเห็นว่า ใช้คำว่า ดับก็ได้ ขจัดก็ได้ ขึ้นกับจะเลือกใช้คำ คนเขารุ้กันอยู่แล้วว่า ดับกิเลสหมายถึง ดับเฉพาะในตัวผู้หมดกิเลส ไม่ใช่ดับของคนอื่นไปทั้งหมดไปด้วย จึงไม่จำเป็นต้องไปบอกว่า กิเลสอยู่ส่วนของกิเลส นิพพานอยู่ส่วนของนิพพาน ให้คนทั่วไปเขางง เสียเปล่าๆ